เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต 5.มหายัญญวรรค 3.ปฐมอัคคิสูตร
5. สัมมาอาชีวะ (เลี้ยงชีพชอบ) 6. สัมมาวายามะ (พยายามชอบ)
7. สัมมาสติ (ระลึกชอบ)
ภิกษุทั้งหลาย สภาวะที่จิตมีอารมณ์เดียวซึ่งมีองค์ 7 ประการนี้แวดล้อม
เรียกว่า ‘อริยสัมมาสมาธิที่มีอุปนิสะ‘1 บ้าง ว่า ‘อริยสัมมาทิฏฐิที่มีบริขาร’ บ้าง
สมาธิปริกขารสูตรที่ 2 จบ

3. ปฐมอัคคิสูตร
ว่าด้วยไฟ สูตรที่ 1
[46] ภิกษุทั้งหลาย อัคคิ (ไฟ) 7 ประการนี้
อัคคิ 7 ประการ2 อะไรบ้าง คือ

1. ราคัคคิ (ไฟคือราคะ)
2. โทสัคคิ (ไฟคือโทสะ)
3. โมหัคคิ (ไฟคือโมหะ)
4. อาหุเนยยัคคิ (ไฟคืออาหุไนยบุคคล)
5. คหปตัคคิ (ไฟคือคหบดี)
6. ทักขิเณยยัคคิ (ไฟคือทักขิไณยบุคคล)
7. กัฏฐัคคิ (ไฟที่เกิดจากไม้)

ภิกษุทั้งหลาย อัคคิ 7 ประการนี้แล
ปฐมอัคคิสูตรที่ 3 จบ

เชิงอรรถ :
1 อุปนิสะ หมายถึงอุปนิสสัยในที่นี้ได้แก่หมวดธรรมที่เป็นเหตุทำหน้าที่ร่วมกัน (ที.ม.อ. 2/290/
257, 290/267)
2 ราคะโทสะ และโมหะ ที่เรียกว่า อัคคิ เพราะมีความหมายว่า ตามเผาผลาญ อาหุเนยยัคคิ แยกอธิบาย
ดังนี้ คือ อาหุเนยยะ + อัคคิ คำว่า อาหุเนยยะ มาจาก อาหุนะ หมายถึงเครื่องสักการะ บุคคลผู้ควรแก่
เครื่องสักการะ เรียกว่า อาหุไนยบุคคล คือมารดาบิดา ที่เรียกว่า อัคคิ เพราะเป็นเหตุให้บุตรผู้ปฏิบัติผิด
ต่อตนต้องถูกเผาไหม้ในนรกได้ คหปตัคคิ แยกเป็น คหปติ + อัคคิ คำว่า คหบดี หมายถึงเจ้าของเรือนผู้
ให้ที่นอน เสื้อผ้า เครื่องประดับ ที่เรียกว่า อัคคิ เพราะเป็นเหตุให้มาตุคามผู้ประพฤตินอกใจตน ต้องถูก
เผาไหม้ในนรก ทักขิเณยยัคคิ แยกเป็น ทักขิเณยยะ + อัคคิ คำว่า ทักขิเณยยะ มาจากคำว่า ทักขิณา
หมายถึงปัจจัย 4 บุคคลผู้ควรแแก่ปัจจัย 4 เรียกว่า ทักขิไณยบุคคล คือภิกษุสงฆ์ ที่เรียกว่า อัคคิ เพราะ
เป็นเหตุให้คฤหัสถ์ผู้ปฏิบัติผิด เช่น ด่า บริภาษ ต้องถูกเผาไหม้ในนรก เป็นต้น กัฏฐัคคิ หมายถึงไฟที่เกิด
จากไม้แห้ง (องฺ.สตฺตก.อ. 3/46/182-183)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :69 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต 5.มหายัญญวรรค 4.ทุติยอัคคิสูตร
4. ทุติยอัคคิสูตร
ว่าด้วยไฟ สูตรที่ 2
[47] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้นแล อุคคตสรีรพราหมณ์ตระเตรียม
มหายัญ โคผู้ 500 ตัวถูกนำเข้าไปผูกไว้ที่หลัก เพื่อประโยชน์แก่การบูชายัญ
ลูกโคผู้ 500 ตัวถูกนำเข้าไปผูกไว้ที่หลักเพื่อประโยชน์แก่การบูชายัญ ลูกโคตัวเมีย
500 ตัวถูกนำเข้าไปผูกไว้ที่หลักเพื่อประโยชน์แก่การบูชายัญ แพะ 500 ตัวถูกนำ
เข้าไปผูกไว้ที่หลักเพื่อประโยชน์แก่การบูชายัญ แกะ 500 ตัวถูกนำเข้าไปผูกไว้ที่หลัก
เพื่อประโยชน์แก่การบูชายัญ
ครั้งนั้นแล อุคคตสรีรพราหมณ์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้สนทนา
ปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจพอเป็นที่ระลึกถึงกัน แล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถาม
พระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ท่านพระโคดม ข้าพเจ้าได้สดับมาว่า ‘การก่อไฟ การปัก
หลักบูชายัญ ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “พราหมณ์ แม้เราก็ได้สดับมาว่า ‘การก่อไฟ
การปักหลักบูชายัญ ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก”
แม้ครั้งที่ 2 ฯลฯ
แม้ครั้งที่ 3 อุคคตสรีรพราหมณ์ก็ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ท่าน
พระโคดม ข้าพเจ้าได้สดับมาว่า ‘การก่อไฟ การปักหลักบูชายัญ ย่อมมีผลมาก
มีอานิสงส์มาก”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “พราหมณ์ แม้เราก็ได้สดับมาว่า ‘การก่อไฟ
การปักหลักบูชายัญ ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก”
พราหมณ์กราบทูลว่า “ท่านพระโคดม ข้อความทั้งหมดของท่านพระโคดมและ
ของข้าพเจ้าย่อมสมกัน”
เมื่ออุคคตสรีรพราหมณ์กราบทูลอย่างนี้แล้ว ท่านพระอานนท์ได้กล่าวกับ
อุคคตสรีรพราหมณ์ดังนี้ว่า “พราหมณ์ ท่านไม่ควรถามพระตถาคตอย่างนี้ว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :70 }